การรักษาสมดุลของอุณหภูมิในร่างกาย
จากการเผาผลาญสารอาหาร ทำให้เกิดพลังงานและความร้อน
ซึ่งความร้อนส่วนหนึ่งจะถูกถ่ายเทให้กับสิ่งแวดล้อม อีกส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น
อุณหภูมิจะสูงขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับระบบควบคุมอุณหภูมิของสิ่งมีชีวิตนั้น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในร่างกายจะมีผลต่อปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย
สัตว์หลายชนิดมีโครงสร้างของผิวหนังที่ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกายฝนสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิต่ำ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมากมีขนปกคลุมร่างกายมีลักษณะแตกต่างกันตามแหล่งที่อาศัยต่างกันแม้ในสัตว์พวกเดียวกัน
องค์ประกอบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกาย
1. วิธีการวัดอุณหภูมิ เช่น การวัดอุณหภูมิปกติทางปากจะวัดได้ประมาณ
37 องศาเซลเซียส
2. วัยเด็กจะมีอุณหภูมิสูงกว่าวัยผู้ใหญ่เล็กน้อย
3. กิจกรรมที่ทำให้เคลื่อนไหวมากจะทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
4. ช่วงเวลา ในช่วงเวลาตอนเช้าอุณภูมิร่างกายจะต่ำกว่าปกติ
5. อุณหภูมิในรอบ 24 ชั่วโมงโดยอุณหภูมิร่างกายช่วงกลางคืนจะต่ำ แล้วค่อยๆสูงขึ้นหลังตื่นตอน
สูงสุดในตอนกลางวัน
6. หญิงวัยเจริญพันธ์อุณหภูมิจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกเดือน เพราะได้รับอิทธิพลจากระดับฮอร์โมนจากรังไข่ในกระแสเลือด
โดยอุณหภูมิของร่างกายจะลดลงต่ำกว่าปกติเล็กน้อยก่อนจะมีการตกไข่ หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
อุณหภูมิจะสูงในระดับนี้จนกระทั่งก่อนวัยมีประจำเดือน หลังจากมีประจำเดือนอุณหภูมิจะลดลงสู่สภาวะปกติ
และจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังตกไข่เดือนต่อไป
7. พื้นที่ผิวร่างกายต่อปริมาตร พื้นที่ผิวมากก็ทำให้มีการสูญเสียความร้อนต่อร่างกายมาก